ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์หลายคนจะต้องเคยเจอกับสถานการณ์ ที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์มาด้วยความเร็ว พอถึงจังหวะที่จะต้องใช้เบรกในการหยุดรถเบรกกลับจม หรือเบรกของรถใช้งานไม่ได้จนทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น แล้วอาการเบรกจมของรถมอเตอร์ไซค์เกิดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้เรามีคำตอบมาให้
อาการเบรกรถมอเตอร์ไซค์จมเป็นอย่างไร?
ปกติเวลาที่เรากำเบรกเพื่อหยุดรถมอเตอร์ไซค์ เราออกแรงแค่นิดเดียวระบบเบรกก็จะทำงานแล้วรถก็จะหยุดเคลื่อนไหวทันที แต่ถ้ารถมอเตอร์ไซค์คันไหนมีอาการเบรกจม แป้นเบรกที่เท้าหรือก้านเบรกที่เคยแข็งจะจมลึกกว่าปกติจนต้องออกแรงมากกว่าที่เคย หรือต้องใช้เบรกซ้ำๆ ถึงจะสามารถหยุดหรือชะลอรถมอเตอร์ไซค์ได้
3 สาเหตุของอาการเบรกจมและวิธีการแก้ไข มีดังนี้
- ชิ้นส่วนของระบบเบรกเสื่อมสภาพ หรือชำรุด : นี้เป็นสาเหตุแรกที่ทำให้รถเกิดอาการเบรกจม ไม่ว่าจะเป็นผ้าเบรกหมด ปั้มเบรกบนชำรุด หรือจานเบรคสึกหรอ เป็นต้น วิธีการแก้ไขให้เรานำรถไปตรวจสอบที่ศูนย์ซ่อม หรือให้ช่างซ่อมรถที่ชำนาญทำการตรวจสอบ ถ้าพบเจอชิ้นส่วนไหนที่เสื่อมสภาพ ให้ทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นใหม่ทันที
- มีอากาศเข้าไปแทนที่น้ำมันเบรกมากจนเกินไป : หากเราให้ช่างทำการตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีชิ้นส่วนใดของระบบเบรกที่เสื่อมสภาพ หรือชำรุด แสดงว่าน่าจะเกิดจากมีอากาศเข้าไปอยู่แทนที่น้ำมันเบรคมากเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการเติมน้ำมันเบรคเพื่อไล่ลมเบรคออกให้หมด และเหลือไว้เฉพาะน้ำมันเบรคใหม่ที่เติมเข้าไป
- ระบบเบรกทำงานค้าง : ระบบดิสก์เบรค (Disc Brake) เป็นระบบเบรกของรถมอเตอร์ไซค์ที่ถูกนำมาใช้ในเวลานี้ หลักการทำงานของระบบดิสก์เบรกนั้น เมื่อเราทำการกดเบรกแม่ปั๊มจะดันผ้าเบรคไปหนีบกับจานเบรกของล้อรถ ส่งผลให้ความเร็วของรถชะลอลง พอเราทำการปล่อยเบรคผ้าเบรคดันไม่คลายตัวกับยังหนีบค้างจานเบรคอยู่เหมือนเดิม วิธีการแก้ไขรีบนำรถเข้าศูนย์ซ่อมให้ช่างทำการแก้ไขซ่อมแซมระบบเบรกให้กลับมาทำงานได้เป็นปกติ